วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของ / วิวัฒนาการของ CPU ( Intel)

วิวัฒนาการของ Intel



เป็น บริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086 , 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนมาถึง Celeron , Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II, Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Edition ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง เรื่อยมาจนมาถึงยุคของ Celeron D และ Pentium 4 ภายใต้รหัส Processor Number ใหม่ รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual และ Quad-Core อย่าง Pentium D , Pentium Dual-Core, Pentium Extreme Edition , Core Duo, Core 2 Duo, Core 2 Quad และ Core 2 Extreme ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคซีพียูในแบบ Dual & Multi-Core บนเครื่องซีพีที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งซีพียูบนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่อย่าง Nehalem ที่จะมาพร้อมกันแบรนด์ใหม่ที่ชื่อว่า Core i7 เป็นต้น
หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋าเราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการตั้งแต่ ปี 1971 จนถึงปัจจุบันกัน

1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข

1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal

1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ

1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง

1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว

1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้

1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว

รุ่นแรกๆ ทาง Intel ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตาม หลังIntelมาเรื่อยๆ ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ

1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium

1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station โดยต่อมาได้ผลิต
          เทคโนโลยี MMX และทำเป็น Intel MMX


1997 : Pentium II Processor รวมเ Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บน
          package เดียวกับ CPU กับ Technology MMX ไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง  
          ภายใน 1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station 

      
1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intelที่ตัดความสามารถบางส่วนออก      
          เพื่อลดต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มากแต่ถึงแม้ Celeron 
         ที่ออกมานั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้  
          แย่กว่า หรือพอพอกับ Pentium MMX



1999 : Pentium III Processor เพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆไปใหม่ ในลักษณะของ MMX
         
1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station

2001 : Pentium 4 Processor มีเทคโนโลยี HT ทำให้การใช้งานทีละหลายโปรแกรมได้ดีขึ้น

2003 : Pentium M ส่วนใหญ่ใช้ใน mobile technology เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย

2005 : Pentium D มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multi-core เพิ่มเข้ามาโดยมี2 coreแต่ละ core จะเป็น
          อิสระต่อกัน

2006 : Intel Core duo นี่แหละครับพระเอกของเรา ต่างกับ Pentium Dตรงที่มีการแชร์2 coreด้วยกัน  
          (dual core)


2006 : Intel Core 2 Duo รองรับชุดคำสั่ง 64 bit และยังประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย

2006 : Intel Core 2 Extreme QX6700 คือ มี 4 core
2006 : Yorkfield คือ 8 core

(Moore's Law) คือ

กฎของมัวร์ (Moore's Law)

 หากกฎของมัวร์เป็นจริงคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบันจะก้าวไป อย่างไรในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทน หลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจร อิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม
กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore)ผู้อำนวยการวิจัยและพัฒนาของบริษัทแฟร์ซายด์เซมิคอนดัคเตอร์เป็นผู้ อยู่ในวงการวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และการค้นคว้า ทางด้านสารกึ่งตัวนำ ต่อมาเขาได้เป็นผู้บุกเบิกและร่วมสร้างบริษัทอินเทลจนมีชื่อเสียงโด่งดังและ ประสบผลสำเร็จ การผลิตและการค้นคว้าทางด้านสารกึ่งตัวนำส่วนใหญ่ของแฟร์ซายด์จะอยู่ในการ ดำเนินการของมัวร์เขาได้คลุกคลีกับเทคโนโลยีมาอย่าง ต่อเนื่อง และยาวนานจากการสังเกตและคาด คะเน แนวโน้มทางเทคโนโนโลยีของมัวร์ในที่สุดเขาได้ตั้งกฎของมัวร์ (Moore's Law) จนเป็นที่ยอมรับ และทำให้การคาดคะเนอนาคตได้ใกล้เคียง ความเป็นจริง
  ทฤษฎีของมัวร์ได้กล่าวไว้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอรืทำให้สามารถ ผลิต     ไอซีที่มี ความหนาแน่นไดด้เป็นสองเท่าทุก ๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เขาได้ทำการพล็อตกราฟแบบสเกลล็อกให้ดูจากอดีตและพบว่าเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากนี้ความก้าวหน้าอื่น ๆ อีกหลายอย่างก็เป็นไปตามกฎของมัวร์ด้วยเช่นกัน
การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีนี้เป็นต้นแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแทนข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

ARTHITIYA   MAHALAPBUTR


                    ASCII         มีค่าในฐาน 16
A            0100 0001           41
R            0101 0010           52
T            0101 0100           54
H            0100 1000           48
I             0100 1001           49
T            0101 0100           54
I             0100 1001          49
Y           0101 1001           59
A           0100 0001           41


M          0100 1101          4D
A           0100 0001          41
H           0100 1000          48
A           0100 0001           41
L           0100 1100           4C
A           0100 0001           41
P           0101 0000           50
B           0100 0010            42
U           0101 0101            55
T            0101 0100           54
R           0101 0010            52